การใช้งานโปรแกรม QGIS

 

1. การใช้งานโปรแกรม QGIS

QGIS เป็นโปรแกรม Desktop GIS ประเภทหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการนำมาใช้จัดการข้อมูลปริภูมิจัดอยู่ในกลุ่มซอฟต์แวร์รหัสเปิด (Free and Open Source Software: FOSS) ที่ใช้งานง่าย ลักษณะการใช้งานเป็นแบบ Graphic User Interface ซึ่งสะดวกต่อการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการเรียกใช้ข้อมูลภาพ ข้อมูลตาราง การแสดงผลตาราง การแสดงผลกราฟ ตลอดจนสามารถสืบค้นข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลได้ในรูปแบบแผนที่สามารถเรียกใช้ข้อมูลเวกเตอร์ราสเตอร์ในรูปแบบที่เป็นมาตรฐานแพร่หลาย เช่น Shapefile และ GeoTIFF เป็นต้น โปรแกรม QGIS สามารถทำงานได้บนระบบปฏิบัติการได้ทั้งทั้ง Linux, Unix, Mac OSX และ Microsoft Windows สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมได้ที่ https://qgis.org/en/site/forusers/download.html

1.1. เครื่องมือต่าง ๆ ของโปรแกรม QGIS



หมายเลข 1. Menu Bar  แถบเมนูเป็นที่เก็บคำสั่งทั้งหมดของโปรแกรม การเรียกใช้งานแถบเมนูทำได้โดยการเลื่อนเมาส์ไปตามรายการคำสั่ง เมื่อต้องการใช้ คำสั่งใด ๆ ก็ให้คลิกเมาส์ที่คำสั่งนั้น



หมายเลข 2. Tools Bar  แถบเครื่องมือ เป็นสัญลักษณ์ (Icon) ที่ใช้แทนคำสั่งต่าง ๆ


  • เมนูจัดการโครงการ ประกอบไปด้วยการสร้างโครงการใหม่ เปิดโครงการเก่าที่ได้บันทึกไว้ บันทึกโครงการและส่งออกเพื่อทำแผนที่


  • เมนูเพิ่มชั้นข้อมูลก็จะประกอบไปด้วยการเพิ่มชั้นข้อมูลเชิงเส้น ข้อมูลเชิงภาพ ชั้นข้อมูลจากฐานข้อมูลและสร้างชั้นข้อมูลใหม่


  • เมนูแสดงรายละเอียดใช้สำหรับดูรายละเอียดต่าง ๆ ของแผนที่ โดยการเลือกดูที่แผนที่โดยตรงหรือจากการเปิดตารางข้อมูล


  • เมนูจัดการมุมมองแผนที่ใช้ควบคุมการแสดงผลของแผนที่ เช่น การขยายแผนที่ การเลื่อนแผนที่ การขยายเต็มจอ หรือการย้อนกลับไปมุมมองเดิม การเพิ่ม Bookmark เป็นต้น


หมายเลข 3. Layers  การแสดงให้เห็นแต่ละประเภทของชั้นข้อมูลตามสัญลักษณ์ หมายเลข 4. Brower  ส่วนอำนวยความสะดวกสำหรับการเชื่อมต่อกับไฟล์ข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ หมายเลข 5. Map Display  การแสดงแผนที่ ที่เราได้ทำการนำเข้าข้อมูลมาในแต่ละประเภท หมายเลข 6. Map Coordinate at mouse curser position  แสดงค่าพิกัดบนแผนที่ เมื่อเราเลื่อนเมาส์ไปที่บริเวณ Map Display หมายเลข 7. Current Map Scale  มาตราส่วนแผนที่ หมายเลข 8. Project Properties  การกำหนดคุณสมบัติของการฉายแผนที่

เมนู Project



ตรวจสอบเวอร์ชั่นของโปรแกรม กดปุ่ม Help >> About



Project Properties


หน้าต่าง Project Properties ให้เลือกที่แถบ General จะมีช่องให้กำหนดค่าต่าง ๆ เช่น Project title จะเป็นการกำหนดหัวข้อของโครงการ และแถบ Layer unit เป็นการกำหนดหน่วยมาตราส่วนของแผนที่ Project Coordinate Reference System (CRS)



แถบ Project Coordinate Reference System (CRS) จะเป็นการกำหนดพิกัด หรือตำแหน่งอ้างอิงทางภูมิศาสตร์ ให้กับโครงการ

1.2. การติดตั้ง Plugins Plugins คือตัวขยายสำหรับการใช้เครื่องมือเสริมของโปรแกรมซึ่งมีให้เลือกใช้งานหลากหลายก่อนที่จะใช้เครื่องมือเสริมจำเป็นต้องติดตั้งเครื่องมือเสริมนั้น ๆ ก่อนการใช้งาน วิธีการติดตั้งสามารถทำได้ดังนี้

  1. กดปุ่ม Plugins >> Manage and install Plugins
  2. เลือก Plugins สำหรับการติดตั้ง

Note: Plugins Plugins ในโปรแกรมมีการอัพเดทอยู่ตลอดควรตั้งค่าให้มีการอัปเดทปลั๊กอินใหม่ ๆ ดังรูป



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนำเข้าไฟล์ KML ใน google Earth และ Google Maps

การนำเข้าไฟล์ KML และการ Export ข้อมูลKMLเป็น Shape file

การคำนวณพื้นที่และระยะทางโดยใช้โปรแกรม QGIS