Cartography and Map production

Cartography and Map production 

การผลิตแผนที่กระดาษและแผนที่ดิจิตอล
แผนที่กระดาษและแผนที่ดิจิตอลต่างมีความสำคัญต่อการใช้งานด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อมและ ด้านสังคม
กระบวนทาง GIS ที่จำเป็นสำหรับการสร้างแผนที่
1. Collection: การรวบรวมข้อมูล เช่น การเก็บค่าพิกัด, นำเข้าข้อมูลจากหน่วยงาน
2. Editing/Maintenance: การแก้ไขและปรับปรุง เพื่อให้ได้ข้อมูลตรงกับความต้องการในการใช้งาน เช่น การแยกชั้นข้อมูล
3. Management: การจัดการข้อมูล
4. Analysis: การวิเคราะห์เพื่อแสดงผลลัพธ์
5. Output :การแสดงผลลัพธ์
Map design process: ขั้นตอนการออกแบบแผนที่
1. Purpose: จุดประสงค์ของการทำแผนที่ เพื่ออะไร
2. Reality: ความเป็นไปได้สามารถทำได้จริงหรือไม่
3. Available data: ข้อมูลที่มีอยู่เพียงพอหรือไม่
4. Map scale: มาตราส่วนของแผนที่
5. Audience: กลุ่มเป้าหมายที่ใช้งาน
6. Conditions of use: ข้อจำกัดทางเทคนิค
“GISมีความหยืดหยุ่นสำหรับการทำแผนที่ ที่หลากหลายประเภท”
ทำไม GIS ถึงมีประโยชน์ต่อสำหรับการทำแผนที่ (ข้อจำกัดของแผนที่กระดาษ)
1. ข้อจำกัดด้านขนาด และแก้ไขยาก
2. การขยายขอบเขตหรือการรวมแผนที่กับงานอื่น
3. ไม่สามารถอัพเดตได้จนกว่าจะมีการเปลี่ยนกระดาษแผ่นใหม่
4.แสดงข้อมูลได้เฉพาะ 2D แต่ GISแสดงผลหลายมิติได้
5. แสดงผลได้เฉพาะมุมมองที่ผู้ผลิตต้องการแสดง แต่ GIS สามารถเพิ่มมุมมองได้ตามการใช้งานของผู้ใช้
6. แผนที่กระดาษแสดงได้เฉพาะมุมมองใดมุมมองหนึ่ง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของโลกเท่านั้น
ข้อจำกัดของข้อมูลชนิดแผนที่
1. ถ้าการผลิตแผนที่มามีความผิดพลาด จะทำให้การสื่อสารข้อมูลของผู้ใช้มีความผิดพลาดได้ เช่น สัญลักษณ์ที่ใช้อาจเป็นสัญลักษณ์เฉพาะ ดังนั้นจึง เข้าใจกันเฉพาะกลุ่ม หรือทำให้แปลความหมายผิดได้
2. แผนที่จะถูกสร้างมาเพื่อวัตถุประสงค์เดียว ถ้าไม่มีการปรับปรุงข้อมูล ให้เป็นปัจจุบัน อาจทำให้เกิดความคาดเคลื่อนได้
3. แผนที่อาจมีความซับซ้อน เช่น หลักเกณฑ์ สัญลักษณ์ ที่ยากต่อการเข้าใจ
องค์ประกอบของแผ่นที่ มี 7 องค์ประกอบ
1. Title
2. Direction indicator
3. Map body
4. Legend
5.Inset /Overview map
6. Scale
7. Map metadata

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนำเข้าไฟล์ KML ใน google Earth และ Google Maps

การนำเข้าไฟล์ KML และการ Export ข้อมูลKMLเป็น Shape file

การคำนวณพื้นที่และระยะทางโดยใช้โปรแกรม QGIS