การประมาณค่าเชิงพื้นที่ (Interpolation)


การประมาณค่าเชิงพื้นที่ (Interpolation)
การประมาณค่าเชิงพื้นที่ (Spatial Interpolation) หมายถึงกระบวนการของการใช้ข้อมูลจุดที่ทราบค่า ไปใช้ในการประมาณค่าพื้นที่ที่ยังไม่ทราบของจุด (พื้นที่) อื่นๆ

ข้อมูลที่นิยมใช้ในการประมาณค่าเชิงพื้นที่
1.       ข้อมูลอุตุนิยมวิทยา (Meteorological Data) เช่น นํ้าฝน อุณหภูมิ และการระเหย
2.       ภูมิประเทศ (Topography) เช่น ความสูงตํ่า
3.       การสะสมของหิมะ (Snow Accumulation)
4.       ระดับนํ้า (Water Table)
5.       ความหนาแน่นประชากร (Population Density)

จุดควบคุม (Control Points)
จุดควบคุม หมายถึงจุดที่ทราบค่า สำหรับการนำค่าเหล่านั้นมาคำนวณเพื่อประมาณค่าจุดพื้นที่ อื่นๆ ที่ยังไม่ทราบค่า  จำนวนและการกระจาย ของจุดควบคุมมีผลต่อความถูกต้องของการประมาณค่าสมมติฐานของการประมาณค่า คือจุดควบคุมที่อยู่ใกล้มีอิทธิพลต่อค่าที่ถูกประมาณมากกว่าจุดควบคุมที่อยู่ไกล บริเวณที่มีจำนวนข้อมูลที่ทราบน้อย หรือไม่มีข้อมูลที่ทราบค่า (data-poor area) มักมีปัญหาต่อการประมาณค่าเชิงพื้นที่
ตัวอย่างการใช้งานการประมาณค่าเชิงพื้นที่
1.      Density Estimation
เป็นการประมาณค่าโดยวัดความหนาแน่นภาย ในกริด หนึ่งๆ จากการกระจายของจุดและค่าที่ทราบ  Cell Density = Total point value / Cell size





2.      Inverse Distance Weight (IDW)
เป็นการประมาณค่าบนสมมติฐานที่ว่าจุดที่ยังไม่ทราบค่านั้นควรมีอิทธิพลจากจุดควบคุมที่อยู่ใกล้มากกว่าจุดควบคุมที่อยู่ไกล  ระดับของอิทธิพล (Degree of Influence, or the Weight) แสดงในรูปผลกลับ (Inverse) ของระยะทางระหว่างจุด ซึ่งเพิ่มขึ้นตามค่ากำลัง (Power Number) ค่ากำลังแสดงถึงอัตราการเปลี่ยนแปลงค่าจากจุดใกล้ไปยังจุดไกล (ถ้าค่ากำลังเท่ากับ 1 แสดงว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงคงที่ระหว่างจุดต่างๆ เรียก Linear Interpolation


สนใจอบรมติดต่อ gisbuildup


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนำเข้าไฟล์ KML ใน google Earth และ Google Maps

การนำเข้าไฟล์ KML และการ Export ข้อมูลKMLเป็น Shape file

การคำนวณพื้นที่และระยะทางโดยใช้โปรแกรม QGIS